ซึ่งอาหารประเภทนี้จะให้สารอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรตแก่ร่างกาย และนั่นก็คือการให้พลังงานแก่ร่างกายนั่นเอง มันจึงทำให้ร่างกายของคนเราสามารถทำงานได้อย่างเต็มที่ อีกทั้งยังให้ความอบอุ่นแก่ร่างกายอีกด้วย ในส่วนของพลังงานที่ได้รับจากการทานอาหารประเภทนี้โดยส่วนใหญ่จะหมดไปเป็นวันต่อวัน จากการทำกิจกรรมต่างๆ เช่น ทำงาน ออกกำลังกาย และเดิน เป็นต้น แต่หากคุณรับประทานอาหารประเภทนี้มากเกินความต้องการของร่างกายก็จะทำให้พลังงานถูกเปลี่ยนไปเป็นไขมัน จนทำให้เกิดโรคอ้วนตามมา
คาร์โบไฮเดรตที่ร่างกายได้รับจากการรับประทานอาหารประเภทนี้สามารถแบ่งออกเป็น 3 ประเภทด้วยกันคือ
1. โนโนแซ็กคาไรด์ คือ คาร์โบไฮเดรตที่มีขนาดของโมเลกุลเล็กที่สุด จะดูดซึมจากลำไส้ได้เลยเมื่อเข้าสู่ร่างกาย โดยที่ไม่ต้องผ่านการย่อยแต่อย่างใด
2. ไดแซ็กคาไรด์ คือ คาร์โบไฮเดรตที่มีส่วนประกอบของโมโนแซ็กคาไรด์จำนวน 2 ตัวมารวมกัน เมื่อร่างกายได้รับสารไดแซ็กคาไรด์ จะทำให้น้ำย่อยที่อยู่ในลำไส้เล็กย่อยออกมาเป็นโมโนแซ็กคาไรด์ก่อน ร่างกายจึงนำไปใช้ประโยชน์ได้
3. พอลีแซ็กคาไรด์ คือ คาร์โบไฮเดรตที่มีขนาดโมเลกุลใหญ่ที่สุด อีกทั้งยังมีสูตรโครงสร้างที่ซับซ้อน และประกอบไปด้วยโมโนแซ็กคาไรด์จำนวนมากมารวมกัน
1.กล้ามเนื้ออ่อนแรง มีอาการเหน็บชา และเป็นตะคริวบ่อยครั้ง
2.รู้สึกอ่อนเพลีย เจ็บป่วยง่าย ในผู้หญิงอาจพบปัญหาประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ
3.ผิวแห้ง ผมเสียขาดความเงางาม เล็บเปราะบาง แตกหักได้ง่าย
4.มีอาการทางระบบประสาท ความจำไม่ดี จดจำอะไรไม่ได้ คิดอะไรไม่ออก ร่วมกับมีความรู้สึกหดหู่ กังวลใจ
5.หาดขาดโปรตีนในวัยเด็ก จะส่งผลให้เด็กมีร่างกายแคระแกร็น ไม่สามารถเจริญเติบโตได้เต็มที่เหมือนกับเด็กในวัยเดียวกัน