แผนพัฒนาตำบล
ส่วนที่๑
บทนำ
ลักษณะของแผนพัฒนาสามปี
แผนพัฒนาสามปี เป็นการแปลงแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาไปสู่การปฏิบัติโดยมีหลักคิดที่ว่าภายใต้ยุทธศาสตร์การพัฒนาหนึ่ง ๆ จะมีแนวทางการพัฒนาได้มากกว่าหนึ่งแนวทาง และภายใต้แนวทางการพัฒนาหนึ่งจะมีโครงการ/กิจกรรม ได้มากกว่าหนึ่งโครงการ/กิจกรรม ที่จะต้องนำมาดำเนินการเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่ต้องการในแต่ละยุทธศาสตร์การพัฒนา ซึ่งจะมีผลต่อวัตถุประสงค์ เป้าหมายจุดมุ่งหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนและวิสัยทัศน์ในที่สุด
นอกจากนั้น แผนพัฒนาสามปีเป็นแผนที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับงบประมาณรายจ่ายประจำปีกล่าวคือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ใช้ในการวางแผนพัฒนาเป็นเครื่องมือในการจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปีไปจัดทำงบประมาณ เพื่อให้กระบวนการจัดทำงบประมาณเป็นไปด้วยความรอบคอบ และผ่านกระบวนการการมีส่วนร่วมของประชาชน
นิยามของแผนพัฒนาสามปี ตามระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการจัดทำและประสานแผนพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.๒๕๔๘ ว่า “แผนพัฒนาสามปี” หมายถึง แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่สอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์การพัฒนา อันมีลักษณะเป็นการกำหนดรายละเอียดแผนงาน โครงการพัฒนาที่จัดทำขึ้นสำหรับปีงบประมาณแต่ละปี ซึ่งมีความต่อเนื่องและเป็นแผนก้าวหน้าครอบคลุมระยะเวลาสามปีโดยมีการทบทวนเพื่อปรับปรุงเป็นประจำทุกปี
ดังนั้น โครงการที่บรรจุอยู่ในแผนสามปี โดยเฉพาะในแผนประจำปีแรกของห้วงระยะเวลาสามปีนั้นควรมีสภาพความพร้อมอย่างน้อย ๒ ประการ คือ
๑. มีความแน่นอนของกิจกรรมที่จะดำเนินการ โดยควรมีการประเมินถึงความเป็นไปได้ของโครงการ/
กิจกรรม รวมทั้งผลประโยชน์สาธารณะที่จะได้รับจากโครงการ/กิจกรรม
๒.กิจกรรมที่อยู่ในแผนประจำปีแรกของห้วงระยะเวลาสามปี ควรมีความพร้อมในเรื่องรูปแบบและ
รายละเอียดทางเทคนิคพอสมควร เพื่อให้สามารถกำหนดรายการในแผนพัฒนาที่จะนำไปใช้จัดทำ
งบประมาณรายจ่ายประจำปีได้ต่อไป
แผนพัฒนาสามปี มีลักษณะกว้าง ๆ ดังต่อไปนี้
๑.เป็นเอกสารที่แสดงความสอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์การพัฒนา
๒.เป็นเอกสารที่แสดงแนวทางการพัฒนาและวัตถุประสงค์ของแนวทางการพัฒนาที่ชัดเจนและมีลักษณะ
เฉพาะเจาะจงที่ดำเนินการ
๓.เป็นเอกสารที่แสดงโครงการ/กิจกรรมการพัฒนาที่จะดำเนินการเป็นห้วงระยะเวลาสามปี
๔.เป็นเอกสารที่จะแสดงความเชื่อมโยงระหว่างแผนยุทธศาสตร์การพัฒนา กับงบประมาณรายจ่ายประจำปี
วัตถุประสงค์ของการจัดทำแผนพัฒนาสามปี
๑. เพื่อแสดงความสัมพันธ์เชื่อมโยงและสอดคล้องกันระหว่างยุทธศาสตร์การพัฒนา และการจัดทำ
งบประมาณประจำปี
๒. เพื่อแสดงแนวทางการพัฒนาในช่วงสามปีที่มีความสอดคล้องและสามารถตอบสนองตอบต่อ
ยุทธศาสตร์การพัฒนาอย่างมีประสิทธิภาพ
๓. เป็นการจัดเตรียมโครงการพัฒนาต่าง ๆ ให้อยู่ในลักษณะที่พร้อมจะบรรจุในเอกสารงบประมาณ
ประจำปี และนำไปปฏิบัติได้ทันทีเมื่อได้รับงบประมาณ
๔. เพื่อเพิ่มมูลค่าของสินค้าเกษตรในเขตพื้นที่ เป็นการยกระดับฐานะความเป็นอยู่ของประชาชนใน
เขตพื้นที่
๕. เพื่อพัฒนางานโครงสร้างพื้นฐานให้ได้มาตรฐานปลอดภัยในการเดินทาง อำนวยความสะดวกใน
การใช้ชีวิตอยู่อย่างปกติสุข
๖. เพื่อการจัดระเบียบชุมชน หมู่บ้าน ให้มีระเบียบแบบแผนสะดวก น่าอยู่ ปราศจากมลพิษท่ามกลาง
สภาพแวดล้อมและภูมิทัศน์ที่เจริญ
๗. เพื่อยกระดับมาตรฐานด้านการสาธารณสุข สุขภาพอนามัยของประชาชนในเขตพื้นที่ให้อยู่ใน
ระดับที่เทียบเท่ามาตรฐานหรือมากกว่า
๘. เพื่อเป็นการส่งเสริมทิศทางการพัฒนามุ่งสู่การอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม จารีตประเพณี และ
ภูมิปัญญาท้องถิ่น
๙. เพื่อสร้างรากฐานของสังคม ชุมชนให้เข้มแข็ง ขจัดปัญหาความยากจน และหนี้สินในหมู่
ประชาชนให้น้อยลง
๑๐. กำหนดทิศทางการพัฒนาเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการมุ่งสู่การบริหารจัดการที่ดี การ
ให้บริหารประชาชนที่เป็นเลิศ
๑๑. เป็นแนวทางการกำหนดในแผนปฏิบัติการและการจัดทำข้อบัญญัติงบประมาณของตำบล
ขั้นตอนการจัดทำแผนพัฒนาสามปี
หลังจากที่ได้มีการกำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาและแนวทางการพัฒนาในแผนยุทธศาสตร์แล้วก็จะต้องถึงขั้นตอนในการแปลงสู่การปฏิบัติโดยการจัดทำแผนพัฒนาสามปี ซึ่งได้กำหนดขึ้นตอนการจัดทำเป็นแนวทางให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนำไปดำเนินการ ๗ ขั้นตอน ดังนี้
ขั้นตอนที่ ๑ การเตรียมการจัดทำแผน
ขั้นตอนที่ ๒ การคัดเลือกยุทธศาสตร์และแนวทางการพัฒนา
ขั้นตอนที่ ๓ การเก็บรวบรวมข้อมูลและการวิเคราะห์ข้อมูล
ขั้นตอนที่ ๔ การกำหนดวัตถุประสงค์ของแนวทางการพัฒนา
ขั้นตอนที่ ๕ การจัดทำรายละเอียดโครงการ/กิจกรรมการพัฒนา
ขั้นตอนที่ ๖ การจัดทำร่างแผนพัฒนาสามปี
ขั้นตอนที่ ๗ การอนุมัติและประกาศใช้แผนพัฒนาสามปี
ประโยชน์ของการจัดทำแผนพัฒนาสามปี
การจัดทำแผนพัฒนาสามปี เป็นเครื่องมือที่จะช่วยให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้พิจารณาอย่างรอบคอบ ให้เห็นถึงความเชื่อมโยงระหว่างแนวทางการดำเนินงานต่างๆ ที่อาจจะมีความเชื่อมโยงและส่งผลทั้งในเชิงสนับสนุน และเป็นอุปสรรคต่อกัน เพื่อให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนำมาตัดสินใจกำหนดแนวทางการดำเนินงานและใช้ทรัพยากรการบริหารของท้องถิ่นอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อให้เกิดประโยชน์สาธารณะสูงสุด
ทรัพยากรการบริหารโดยทั่วไปประกอบด้วย
- เงิน ทั้งเงินงบประมาณขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเอง และแหล่งงบประมาณภายนอกรวมทั้งมาตรการประหยัดงบประมาณรายจ่ายด้วย
- คน ซึ่งหมายความรวมตั้งแต่ผู้บริหารท้องถิ่น พนักงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทุกระดับ ซึ่งจะมีความแตกต่างหลากหลายทั้งด้านความรู้ ทักษะ และทัศนคติ ซึ่งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะต้องนำศักยภาพของกำลังคนเหล่านั้นมาใช้ รวมทั้งต้องพัฒนากำลังคนเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และถ้าพิจารณาในความหมายอย่างกว้างและอาจหมายความรวมถึงประชาชนในท้องถิ่นซึ่งจะมีส่วนร่วมในการพัฒนาท้องถิ่นด้วย
- วัสดุอุปกรณ์ หมายถึง เครื่องจักร เครื่องมือ รวมทั้งอาคารสถานที่ที่จะสามารถนำมาใช้ในการบริหารจัดการท้องถิ่นให้เกิดการพัฒนาสูงสุดโดยมีการพัฒนาวัสดุอุปกรณ์ ให้มีความทันสมัยเพื่อรองรับความก้าวหน้าของสังคมโดยรวมได้อย่างเท่าทันและใช้วัสดุอุปกรณ์ดังกล่าวอย่างเต็มศักยภาพการบริหารจัดการ เป็นสิ่งที่จะช่วยขับเคลื่อนทรัพยากรทั้งสามประการข้างต้นให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และมีสภาพการพัฒนาอย่างยั่งยืน การบริหารจัดการเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ที่ต้องศึกษาและนำไปปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง
- การบริหารจัดการ หมายถึง สิ่งที่จะช่วยขับเคลื่อนทรัพยากรทั้งสามประการข้างต้นให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และมีสภาพการพัฒนาอย่างยั่งยืน การบริหารจัดการเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ที่ต้องศึกษาและนำไปปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง